ประวัติความเป็นมาของทหารราชวัลลภรักษา
พระองค์

จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ในขณะทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก ได้ทรงชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องวันตั้งกรมไว้ว่า ไม่ปรากฏว่ากรมทหารมหาดเล็กได้เกิดขึ้นเมื่อวันใด เพราะไม่มีหลักฐานที่จะกำหนดได้
จึงได้สมมุติให้วันที่ 11 พฤศจิกายน 2411 คือวันบรมราชาภิเษกแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เป็นวันกำเนิดของกรมนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ขณะที่วิกิพีเดียไทย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ คือ หน่วยทหารที่มีหน้าที่ถวายความปลอดภัยและถวายพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์โดยใกล้ชิด
(คำว่า “ราชวัลลภ” นี้ แปลได้ว่า ผู้เป็นที่รัก สนิท คุ้นเคยของพระราชา)




กิจการทหารรักษาพระองค์และทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เริ่มต้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมบุตรในราชตระกูลและบุตรข้าราชการที่ยังเยาว์วัยมาทดลองฝึกหัดเป็นทหารตามยุทธวิธีแบบใหม่เช่นเดียวกับกรมทหารหน้า ซึ่งในชั้นแรกนั้นมี 12 คน และให้ทำหน้าที่ไล่กาที่บินมารบกวนในเวลาทรงบาตร ตลอดจนตั้งแถวรับเสด็จฯ ณ ที่นั้นทุกเวลาเช้า

มหาดเล็กเหล่านี้เอง (ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า “ทหารมหาดเล็กไล่กา”) คือจุดเริ่มต้นของกิจการทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
ปลายปี พ.ศ.2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมทหารมหาดเล็กข้าหลวงเดิมจำนวน 24 คน ตั้งขึ้นเป็นหน่วยทหารอีกหน่วยหนึ่ง เรียกว่า “ทหารสองโหล ถือปืนชไนเดอร์” มีหน้าที่เฝ้าพระฉากตามเดิมแต่ในตอนเช้าและตอนเย็น ต้องมารับการฝึกทหาร
พ.ศ.2413 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ชูโต) จางวางมหาดเล็ก ทำการคัดเลือกบรรดาบุตรในราชตระกูล และบุตรข้าราชการที่เป็นทหารมหาดเล็ก เพื่อจัดตั้งเป็นกองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ทำหน้าที่รักษาพระองค์อย่างใกล้ชิด และตามเสด็จในเวลาเสด็จประพาสหัวเมือง ในชั้นนี้คัดเลือกไว้ 48 คน เมื่อรวมทหารมหาดเล็ก 2 โหลเดิมด้วยแล้ว จึงมีทหารมหาดเล็กทั้งหมด 72 คน
เมื่อการปฏิบัติหน้าที่กว้างขวางขึ้น จำนวนทหารที่มีอยู่เดิมจึงมีจำนวนไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่
จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรีคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นทหารเพิ่มขึ้น
ในการนี้ พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ชูโต) ได้นำบุตรชาย คือ นายเจิม ชูโต (ต่อมาคือเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เจิม แสง-ชูโต) เข้าถวายตัวเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ โดยสมัครเป็นตัวอย่างคนแรก (เนื่องจากสมัยนั้นคนไทยไม่นิยมเป็นทหาร) ทำให้มีจำนวนทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์เพิ่มขึ้นทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และที่เป็นเด็ก เพราะทุกคนต่างก็เห็นและรู้สึกเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลในการที่บุตรหลานของตนได้เข้ารับราชการใกล้ชิดพระมหากษัตริย์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหน่วยทหารดังกล่าวขึ้นเป็น กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ และทรงดำรงพระยศเป็นนายพันเอก ตำแหน่งผู้บังคับการกรมด้วยพระองค์เอง
ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จนมั่นคงดีขึ้น
และได้ทรงขนานนามหน่วยนี้เสียใหม่ว่า กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ในปี พ.ศ.2414 (ปัจจุบันหน่วยทหารนี้คือ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ)
หน่วยทหารรักษาพระองค์ได้มีวิวัฒนาการต่อมาตามลำดับจากต้นกำเนิดดังกล่าวมาแล้ว ต่อมาจึงมีการก่อตั้งหน่วยทหารรักษาพระองค์ที่เป็นหน่วยรบจากเหล่าต่างๆ เช่น ทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ ฯลฯ
ส่วนใหญ่อยู่ในระดับกองพัน และหน่วยบังคับบัญชาของหน่วยนั้นในระดับกรมมักจะตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้อยู่ใกล้ชิดองค์พระมหากษัตริย์ ได้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง


หน่วยทหารรักษาพระองค์

ปัจจุบันกองทัพไทยมีหน่วยทหารรักษาพระองค์ทั้งสิ้น 87 หน่วยเดิม 98 หน่วย (พ.ศ. 2562)[1] ส่วนใหญ่อยู่ในสังกัดกองทัพบกและเป็นเหล่าทหารราบ ปัจจุบันเพิ่มหน่วยรบพิเศษเป็นทหารรักษาพระองค์ ปัจจุบันโอนย้ายกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์และกรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ให้ขึ้นตรงกับหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์[2]

หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์

กองทัพบก[แก้]

หน่วยทหารรักษาพระองค์ของกองทัพบกมีทั้งหมด 59 หน่วย คือ

นักเรียนนายร้อย[แก้]

  • กรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
    • กองพันที่ 1 กรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
    • กองพันที่ 2 กรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
    • กองพันที่ 3 กรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
    • กองพันที่ 4 กรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

เหล่าทหารราบ[แก้]

กองพลที่ 1 รักษาพระองค์[แก้]
กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง[แก้]
  • กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
    • กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
    • กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
    • กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  • กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
    • กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
    • กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
    • กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  • กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
    • กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
    • กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
    • กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

เหล่าทหารม้า[แก้]


การสวนสนามของ ม.พัน.29 รอ. ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนฯ ประจำปี พ.ศ. 2549
กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[แก้]
  • กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
    • กองพันทหารม้าที่ 5 กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
    • กองพันทหารม้าที่ 11 กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    • กองพันทหารม้าที่ 25 กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • กรมทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    • กองพันทหารม้าที่ 20 กรมทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
    • กองพันทหารม้าที่ 23 กรมทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    • กองพันทหารม้าที่ 24 กรมทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

เหล่าทหารปืนใหญ่[แก้]


ทหารปืนใหญ่สังกัดป.พัน 1 รอ.ปฏิบัติหน้าที่ยิงสลุตถวายพระพร 21 นัด ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ประจำปี พ.ศ. 2549
  • กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
    • กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 1 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
    • กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 11 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
    • กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 31 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
  • กรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
    • กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 2 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
    • กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 12 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
    • กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 21 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
    • กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 102 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  • กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2 รักษาพระองค์

เหล่าทหารช่าง[แก้]

  • กรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์
    • กองพันทหารช่างที่ 52 กรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์
    • กองพันทหารช่างที่ 112 กรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์
  • กองพันทหารช่างที่ 1 กองพลที่ 1 รักษาพระองค์
  • กองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์ กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

หน่วยรบพิเศษ[แก้]

  • กรมรบพิเศษที่ 3 รักษาพระองค์
    • กองพันจู่โจมรักษาพระองค์ กรมรบพิเศษที่ 3 รักษาพระองค์
    • กองพันปฏิบัติการพิเศษรักษาพระองค์ กรมรบพิเศษที่ 3 รักษาพระองค์

กองทัพเรือ[แก้]


ทหารรักษาพระองค์สังกัด กรม นนร.รอ. รร.นร.
กองทัพเรือ มีหน่วยทหารรักษาพระองค์รวม 7 หน่วย คือ
  • กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ
    • กองพันที่ 1 กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ
    • กองพันที่ 2 กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ
    • กองพันที่ 3 กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ
    • กองพันที่ 4 กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ
  • กองพันทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
  • กองพันทหารราบที่ 9 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 3 กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

กองทัพอากาศ[แก้]


ทหารรักษาพระองค์สังกัด กรม นนอ.รอ. รร.นอ. ในพิธีถวายสัตย์ฯ ประจำปี พ.ศ. 2549
กองทัพอากาศมีหน่วยทหารรักษาพระองค์รวม 13 หน่วย คือ
  • กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
    • กองพันที่ 1 กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
    • กองพันที่ 2 กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
    • กองพันที่ 3 กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
    • กองพันที่ 4 กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
    • กองพันที่ 5 กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
  • กรมทหารอากาศโยธินรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
    • กองพันทหารอากาศโยธิน 1 กรมทหารอากาศโยธินรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
    • กองพันทหารอากาศโยธิน 2 กรมทหารอากาศโยธินรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
    • กองพันทหารอากาศโยธิน 3 กรมทหารอากาศโยธินรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
  • กรมทหารต่อสู้อากาศยานรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
    • กองพันทหารต่อสู้อากาศยานที่ 1 กรมทหารต่อสู้อากาศยานรักษาพระองค์
    • กองพันทหารต่อสู้อากาศยานที่ 2 กรมทหารต่อสู้อากาศยานรักษาพระองค์

หน่วยทหารในพระองค์[แก้]

กองทัพบก[แก้]

  • กองพันทหารม้าที่ 6 กรมทหารม้าที่ 6 ในพระองค์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
  • กองพันทหารม้าที่ 14 กรมทหารม้าที่ 7 ในพระองค์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
  • กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 17 ในพระองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

อ้างอิง


ความคิดเห็น